![]() | ||
![]() ![]() ![]() ![]() | ||
![]() |
|
ประชาสัมพันธ์ || ปฏิทินการศึกษา || ส่งเกรด || ตารางเรียน || ตารางสอบ || แผนการเรียน || ตารางสอน || ใบรายชื่อ นศ. || ตารางคุมสอบ || ตรวจสอบเงินเดือน || |
หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย สำนักวิชาการและประมวลผล || มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด || คณะศิลปศาตร์และวิทยาศาสตร์ || คณะพยาบาลศาสตร์ || บัณฑิตวิทยาลัย || วิทยาลัยการจัดการ || วิทยาลัยการศึกษา || วิทยาลัยนิติรัฐศาสตร์ || สถาบันวิจัยและพัฒนา || สถาบันจัดการความรู้ || สำนักกิจการนักศึกษา || สำนักงานอธิการบดี || โรงเรียนสาธิต || |
ประกันคุณภาพการศึกษา คู่มือประกันคุณภาพการศึกษา 2557 || |
Web Application คำนวณ ค่างวดรถ |
โมเดลฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relation Database Models) โมเดลฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ผู้ริเริ่มคือ Dr.E.F.Codd โดยกำหนดส่วนประกอบของโมเดลเชิงสัมพันธ์แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. ส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของข้อมูล 2. ส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมความถูกต้องให้กับข้อมูล 3. ส่วนในการจัดการกับข้อมูล Relational Database คืออะไร Relational Database คือการทำฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เป็นการเก็บข้อมูลในลักษณะของตาราง (table) เสมือนเป็นแฟ้มเก็บข้อมูล ในแต่ละตารางจะเก็บข้อมูลไว้เป็นแถว (Row) และแต่ละแถวจะประกอบไปด้วยคอลัมน์ (Column) เช่น ตารางรายชื่อนักศึกษา 1 แถวจะประกอบด้วยรายละเอียดนักศึกษาแต่ละคนประกอบไปด้วย รหัส ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด เป็นต้น โดยในแต่ละตารางจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น รหัสของนักศึกษาในตารางรายชื่อ ก็จะมีอยู่ในตารางผลการเรียนเช่นกัน ประโยชน์ของ Relational Database คือมีรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ในด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์หรือระบบฐานข้อมูล การบริหารจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างมีระบบ ช่วยลดข้อมูลขยะที่ก่อให้เกิดปัญหาการใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็น การเรียกใช้ข้อมูลทำได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะภาษาที่ใช้ในการเรียกดูข้อมูล เป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาพูด (SQL ) |
โครงสร้างของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
โครงสร้างของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ มีการใช้โครงสร้างข้อมูลในเชิงตรรกะเพียงรูปแบบเดียวเท่านั้น คือรีเลชัน (Relation)โดยทีรีเลชันจะถูกมองเห็นในลักษณะของตาราง (Table) ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1.1) record แทนรายการข้อมูลแต่ละรายการข้อมูลในแนวนอน 1.2) field แทนชุดข้อมูลในแนวตั้งเป็นส่วนประกอบของ record 1 record อาจประกอบไปด้วยหลาย field ![]() การ relation ตารางจะใช้ field ในการอ้างอิงไปยัง filed ของตารางอื่นที่เก็บข้อมูลเดียวกัน โดยทั่วไปจะใช้ชื่อเดียวกันในการอ้างถึง ดังตัวอย่ าง ![]() |
วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่าย
ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
|
| |